วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 08:30 - 12:30 น.


ในสัปดาห์นี้อาจารย์มาอธิบายในการแก้แผนอีกครั้งของแต่ละแผนส่วนของดิฉัน กลุ่มมะละกอ ต้องแก้เพิ่มสร้างเสริมประสบการณ์ในแต่ละด้าน 

ภาพการเรียนออนไลน์




ในระหว่างพักอาจารย์ได้ให้เตรียมอุปกรณ์ กระดาษa4 2แผ่นต่อกัน ประกาสี 3แท่ง


อาจารย์จะให้อัดคลิปสอนในแผนวันอังคาร แทนด้วยเครื่องเขียน การนำเข้าสู่บทเรียนปริศนาคำทาย เด็กรู้จักลักษณะปากกาออย่างไรบ้างคะ  เด็กๆลองสังเกตดูสิคะ ตัวอย่าง

คำศัพท์

Stationary    เครื่องเขียน
Paper           กระดาษ
PEN             ปากกา
Equipment   อุปกรณ์
Papaya         มะละกอ

ประเมินอาจารย์     อาจารย์ได้เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนได้ดี
ประเมินตนเอง       ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน        เพื่อนให้ความร่วมมือได้ดี








สาธิตวิธีการสอนคณิตศาสตร์




วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563


บันทึกการเรียนครั้งที่  12 
วันจันทร์ ที่ 19  เมษายน   พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 


 เนื้อหา 
                            เริ่มต้นการเรียนด้วยเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสาตร์ ว่าเนื้อหาเพลงนี้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ กับเด็กอย่างไร
เพลง  หนึ่งปีมีสิบสองเดือน   เพลงจัดเเถว  เพลงเข้าเเถว

 เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน   ให้รู้ถึง วันหนึ่งมี 24  วันในสัปดาห์ 1 มี 7 วัน   1 ปี มี 12  เดือน วันพรุ่งนี้วันนี้  เทศกาล ใน 1 ปี ในเเต่ล่ะเดือน
 เพลงจัดเเถว เพลงเข้าเเถว   การเปรียบเทียบ  รู้ถึงลำดับก่อนเเละหลัง ทิศทาง เท่ากับเสมอกัน 

 เนื้อเพลงระหว่างอาจารย์สอน



และทบทวนเนื้อหาข้อบกพร่องในการแก้แผนแต่ละหน่วยอาจารย์จะให้แก้ไขข้อผิดพลาดของแต่ละหัวข้อเช่น วัตถุประสงค์ในหน่วยมะละกอ

รูปตัวอย่างารสอน



พร้อม ให้ปรับเเก้แผนระหว่างพักพร้อมให้เตรียมอุปกรณ์ที่จะให้สอนเป็นตัวอย่าง มี อุปกรณ์ เเละขั้นตอนการสอนดั้งนี้  สิ่งของที่เหมือนกัน 4 ชิ้น  3 ชิ้น  2 ชิ้น  เเละเอากระดาษตัดเป็นวงกลมเขียนเลข 9 ติดไว้กับไม้  ข้าวสารใส่ในเเก้ว กระดาษเอ 4   พร้อมกับอัดคลิปการสอนนำเสนออาจารย์ในวันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2563


  คำศัพท์  
 My map     ผังความคิด
 Draw         วาด 
 Science     อธิบาย
 Artificial     ประดิษฐ์
 Lead          นำเสนอ


ประเมินอาจารย์     อาจารย์ได้เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนได้ดี
ประเมินตนเอง       ในสัปดาห์นี้อาจจะยังมีแอบเล่นโทรศัพท์บ้างแต่ก็ตั้งใจทำ
ประเมินเพื่อน        เพื่อนให้ความร่วมมือได้ดี




บันทึกการเรียนครั้งที่  11 
วันจันทร์ ที่ 13  เมษายน   พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 


เนื้อหาที่เรียน 

      สอนเพิ่มเกี่ยวกับการเเก้ไขเเผนการจัดประสบการณ์จากสัปดาห์ที่เเล้วเนื่องจากต้องเพิ่มเติมเนื้อหาในแต่ละวันให้ละเอียดมากขึ้น เช่นวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระต่างๆ

     เนื้อหา นั้นเราต้องสอนให้เด็กได้รู้อะไร ทำอะไร สาระที่เด็กควรได้รับต้องสอดคล้องกันทั้งหมด        

  ขั้นสอนเราต้องเพิ่มเติมคือ พูดถึงสัดส่วนต่างๆให้มากขึ้น (สันส่วนของหน่วย เช่นหน่วยมะละกอ ลักษณะมะละกอเป็นอย่างไรบ้าง การดูแลต้นมะละกอ อื่นๆ ) เเละมอบหมายให้ไปเเก้ใขข้อมูลให้ถูกต้อง


คำศัพท์

Assign.       มอบหมาย 
More           เพิ่มเติม
Modify        เเก้ไข
Correct.      ถูกต้อง
Matter         สาระที่ได้รับ

ประเมินอาจารย์     อาจารย์อธิบายได้ละเอียดให้เด็กมีส่วนร่วมในการตอบเป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง       ในสัปดาห์นี้ตั้งใจฟังค่ะเพื่อจะนำไปแก้ไขงาน
ประเมินเพื่อน        เพื่อนให้ความร่วมมือได้ดี




บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 
วันจันทร์ ที่  30  มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 น.

้้
เนื้อหาที่เรียน 
       เนื้อหาในวันนี้อาจารย์ให้เเก้เเผนการจัดประสบการณ์จากเดิมให้มีเนื้อหาสาระเข้ามาเพิ่มเติมจากที่ไม่สมบรูณ์
    ****  ออกแบบให้เหมาะสมกับพัฒนาการเเละวิธีการของเด็ก  *****
เเผนการจัดประสบการณ์ หน่วยมะละกอ

รูปการสอนและตัวอย่างแผนการสอน




สาระการเรียนรู้มาจาก    
   - หลักสูตร (ประกอบด้วย)  
      1. ประสบการณ์สำคัญ
      2. สาระที่ต้องเรียนรู้ 

ประสบการณ์สำคัญ   
  •     นำมาจากหลักสูตร์และนำมาปรับให้เข้ากับหน่วยการเรียนรู้ของตนเองอย่างเหมาะสม

 เนื้อหา  
  •       เด็กได้เรียนรู้อะไรทำอะไรได้บางจากการจัดประสบการณ์ในหน่วยนี้

 ขั้นนำ  
  •       เป็นการนำเด็กเข้าสู่เนื้อหา เช่น เเผนจัดประสบการณ์วันอังคาร คุณครูนำมพลพกอมาให้เด็กดูรู้จักลักษณะของมะละกอพื้นผิว 

  ขั้นสอน 
  •        พูดถึงเนื้อหาที่จะทำ สัดส่วนต่างๆ
  •        เด็กได้ลงมือทำ
  •        สามารถเเบ่งกลุ่มได้ (ถ้ากรณีที่เด็กเยอะเเละผู้ดูเเลเพียงพอ)
 ขั้นสรุป 
  •        ครูเเละเด็กทบทวนสิ่งต่างๆในการทำกิจกรรม

 สื่อเเละเเหล่งเรียนรู้
  •        เเต่ล่ะวันก็จะเเตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะนิทาน  เพลง รูปภาพประกอบ อุกรณ์ต่างๆ 

การวัดผลประเมินผล
  •        เด็กเกิดการพัฒนาอย่างไรบ้างกับการเรียนรู้ในหน่อยต่างๆแต่ละวัน
การบูรณาการ
  •         จากหน่วยการเรียนรู้การจัดประสบการณ์เด็กได้อะไรจากการบรูณาการในสาระคณิตสตร์ เช่น การเปรียบเทียบ  ขนาด  การคาดเดา  รูปร่างรูปทรง ลักษณะ อื่นๆ

     เเผนที่ปรับเเก้   

 -ปรับเเก้ตรงเนื้อหาที่ต้องเพิ่ม   เพิ่ม 6 กิจรรม ซึ่งเเผนเดิมไม่มีทั้ง 6 กิจกรรม 
 -กลางเเจ้ง  เคลื่อนไหวจังหวะ  สร้างสรรค์   เกมการศึกษา  เเละกิจกรรม เสรี
 -เนื้อหาสาระ เเก้ไขให้ถูกต้องเข้ากับหน่วยเเละการสอน  

  คำศัพท์  

  Course of  study         หลักสูตร 
  Learning unit             
หน่วยการเรียนรู้
  Tale                            นิทาน
  Substance                 สาระการเรียนรู
  Previous konwledge  ความรู้เดิม



ประเมินอาจารย์     อาจารย์ได้เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนได้ดี
ประเมินตนเอง       ในสัปดาห์นี้อาจจะยังมีแอบเล่นโทรศัพท์บ้างแต่ก็ตั้งใจทำ
ประเมินเพื่อน        เพื่อนให้ความร่วมมือได้ดี


วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563




เพลง 1 ปี นั้นมี 12 เดือน


หนึ่งปี นั้นมี สิบสองเดือน
อย่าลืมเลือน จำไว้ ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์ นั้นมี เจ็ดวัน (ซ้ำ)
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ
พฤหัส ศุกร์ เสาร์




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 

เนื้อหาที่เรียน
 อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ในแต่ละวัน กับการบูรณาการทางคณิตศาสตร์ หน่วยมะละกอ
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ หน่วยมะละกอ





วัตถุประสงค์   สิ่งที่เด็กจะได้รับจากหน่วยการเรียนนี้และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น
  •     เด็กสามารถบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบได้บอกลักษณะของมะละกอได้
สาระการเรียนรู้คือ
  •     สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ เช่นมะละกอสามารถนำมาทำส้มตำเเละอาหารอื่นๆได้อีกเเละวิธีการทำส้มตำ
ประสบการณ์ที่สำคัญ 
  •    อ้างอิงจากหลักสูตรปฐมวัย 2560 ที่กำหนด ประสบการณ์ที่สำคัญที่เด็กต้องได้จากการจัดประสบการณ์
กิจกรรมการเรียนรู้

 จะมี 3 ขั้น    1.  ขั้นนำนำไปสู่การทำกิจกรรม ครูต้องเเละเด็กต้องทำกิจกรรมก่อนที่จะลงมือทำจริง กิจกรรมที่สามารถ นำมาบรูณาการได้ เช่น คำคล้องจอง เพลง นิทาน เกม เลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรม
                    2.  ขั้นสอนเป็นขั้นที่ครูเเละเด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
                    3.  ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ครูเเละเด็กทบทวนในสิ่งปฏิบัติไป

สื่อเเละเเหล่งเรียนรู้ 
  •     อุปกรณ์และวัสดุ ที่เด็กมองเห็นได้
การวัดผลเเละการประเมินผล
  •    เด็กได้เรียนรู้เเละพัฒนาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การบรูณาการ 
  •   เด็กได้เรียนรู้จากหน่วยกล้วยเข้ากับคณิตศาสตร์อย่างไร เช่น รูปร่างรูปทรง การเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ เล็ก กลาง
ภาพกิจกรรมระหว่างสอน



คำศัพท์ 

Mathematics     คณิตศาสตร์

Review              ทบทวน
Activity              กิจกรรม
Practice             ปฏิบัติ
Learn                 เรียนรู้


ประเมินอาจารย์     อาจารย์ได้เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการคิดลงมือทำ
ประเมินตนเอง       ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนออนไลน์ตรั้งแรกอาจจะยังเกิดปัญหาไม่เข้าใจในการสื่อสารเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน        เพื่อนยังมีการสื่อสารผิดพลาดบ้างเพราะเป็นการเรียนออนไลน์ครั้งแรก






เพลง แมวเมี๊ยว


เนื้อเพลง 
นั้นเเมวร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว 
เเมวเปอร์เซีย  1 2  3  4  5  
อีกตัวนั้นเดินตรงมา อีกตัวนั้นเดินตรงมา
ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว 6  7  8  9 10 





สรุปงานวิจัย : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ที่มา :คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

ความมุ่งหมายของการววิจัย

เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณตศาสตร์ของเด็กปฐมวยก่อนและหลังได้รับ
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้ รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้พัฒนาทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ขอบเขตการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอยางที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย 
ชาย – หญิง อายุระหว่าง5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกกษา 2549 โรงเรียนสาธิต
อนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 10 ห้อง

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นนักเรียนปฐมวัย 
ชาย – หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภฏสวนดุสิตโดยการ
จับฉลากมา 1 ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้การประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ0.86

วิธีดําเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งงนี้ดำเนินการทดลองมีลําดับขั้นตอนดังนี้
1. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในการทําวิจัย
2. ผู้วิจัยได้ทําการสุ่มเด็กนักเรียน ชาย – หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภฏสวนดุสิต โดยการ
จับฉลากมา 1 ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้แบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพนฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้าย เป็นกลุ่มทดลอง
3. ในการวิจัย ผู้วิจัยดําเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่าง
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน จัดกิจกรรมใน วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00 – 09.45 น.วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
4. ทดสอบเด็กกลุ่มทดลองก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5. ผู้วิจัยทําหน้าที่สอนเด็กกลุ่มทดลอง ด้วยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
6. หลังการทดลองผู้วิจัยทําการทดสอบเด็กกลุ่มทดลองด้วยแบบทดสอบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดียวกันได้ทดสอบก่อนการทดลองอีกครั้ง
7. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและสรุปผลการทดลอง

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

 1. สถิติพื้นฐาน
1.1 คะแนนเฉลี่ย
1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจําแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำาแหน่ง ทักษะการ
จําแนก ทักษะการนบั 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จํานวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ.01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่ากาทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01


บทความ : เรื่อง เตรียมพร้อมคณิตศาสตร์ตั้งแต่ก้าวแรก...ของลูกน้อย
ที่มา :แพทย์หญิงอัมพร   เบญจพลพิทักษ์   ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล
แพทย์หญิงนพวรรณ  ศรีวงค์พานิช   รองผู้อำนวยการด้านการพัฒนาระบบบริการฯ
นางนิรมัย  คุ้มรักษา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางณัฐชนก   สุวรรณานนท์   นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
เตรียมพร้อมคณิตศาสตร์ตั้งแต่ก้าวแรก...ของลูกน้อย       
           พ่อ แม่ คือ ส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของลูกน้อย ตั้งแต่วัยเตาะแตะจนถึง 5 ปี เด็กๆจะได้ใช้ทักษะนี้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่างๆที่พ่อ แม่ทำร่วมกับเขา เช่น การนับขั้นบันไดที่เด็กขึ้นลง การแบ่งของเล่นหรือขนมให้พี่น้อง หรือเพื่อน  การพัฒนาทักษะโดยผ่านกิจกรรมเหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญต่อความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่โรงเรียน ทำให้เด็กสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนได้อย่างก้าวกระโดด
ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยก่อนเข้าสู่โรงเรียนการสังเกต สิ่งของเหมือนกันหรือต่างกัน
        
  โดยสอนให้เด็กๆสังเกตวัตถุหรือสิ่งของที่เหมือนกัน ตามขนาด รูปร่าง สี เช่น ให้ดูสิ่งที่เด็กพบเห็นอยู่ทุกวัน เช่น เครื่องใช้ของเด็กโดยให้เด็กสังเกตมีอะไรของเด็กที่เหมือนกันบ้าง  หรือในขณะที่พาเด็กเดินไปยังสถานที่ต่างๆ พ่อแม่เก็บใบไม้ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดูให้เด็กสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียว แต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่างกัน เป็นต้น
การเปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน

          โดยสอนให้เด็กๆเปรียบเทียบสิ่งของหรือวัตถุ 2 ชิ้น ตามขนาด ความยาว ความสูง น้ำหนัก Iเช่น ใหญ่- เล็ก ยาว - สั้น สูง -เตี้ย หนัก - เบา ซึ่งในการสอนแรกๆควรใช้สิ่งของหรือวัตถุชนิดเดียวกันก่อน เมื่อเด็กทำได้ดีแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นสิ่งของหรือวัตถุต่างกัน จนทำได้ดีจึงให้เปรียบเทียบ “ขั้นกว่า” โดยใช้สิ่งของหรือวัตถุ 3 ชิ้น เช่น ใหญ่กว่า เล็กกว่า ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า หนักกว่า เบากว่า ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักการประมาณอีกด้วย
การจัดลำดับสิ่งของ

          โดยสอนให้เด็กๆจัดลำดับสิ่งของหรือวัตถุตั้งแต่ 3 ชิ้นขึ้นไป ตามขนาด ความยาว ความสูง น้ำหนัก เช่น เรียงลำดับจากใหญ่ที่สุดไปจนเล็กที่สุด ยาวที่สุดไปจนสั้นที่สุด สูงที่สุดไปเตี้ยที่สุด ฯลฯ
การวัด  สอนเด็กให้หาความยาว ความสูง และน้ำหนักของวัตถุโดยใช้หน่วยวัด เช่น นิ้ว ฟุต ปอนด์ หรือการจับเวลา (เป็นนาที)
การนับ  โดยสอนให้เด็กๆจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เปรียบเทียบของสองกล่ม ให้เข้าใจความหมายของ เท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า นับเลขปากเปล่าไปข้างหน้า ถอยหลัง อาจยังเป็นการนับเลขแบบท่องจำ สอนนับจำนวน เช่น นับจำนวนอวัยวะในร่างกาย “เรามีตา 2 ตา” นับสมาชิกในบ้าน “บ้านของเรามีสมาชิกอยู่ 4 คนคือ พ่อ แม่ พี่ และหนู” นับจำนวนขนม ผลไม้ ขณะรับประทานอาหารว่าง “มีส้ม 3 ผล” “หนูขอกินขนม 2 ชิ้น” หรือนับจำนวนสิ่งที่เด็กพบเห็นบ่อยๆ เป็นต้น เมื่อเด็กหยิบจำนวนสิ่งของหรือวัตถุมาให้ได้ตามจำนวนที่บอกจึงค่อยสอนความสัมพันธ์ของตัวเลขกับจำนวนโดยการแทนค่าของจำนวนด้วยตัวเลข
รูปทรงและขนาด โดยสอนให้เด็กรับรู้ความสัมพันธ์ของรูปร่าง รูปทรง ขนาด พื้นที่ ตำแหน่ง ทิศทางและการเคลื่อนไหว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาเรขาคณิตต่อไป ชวนเด็กพูดคุยถึงสิ่งของในบ้านว่ามีรูปร่าง รูปทรง เป็นอย่างไร เช่น ในบ้านของเราอะไรที่มีรูปร่าง/รูปทรงเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมบ้าง เมื่อเด็กเริ่มบอกได้รูปร่างพื้นฐานได้ค่อยสอนรูปทรงที่ยากขึ้น
การจัดหมู่   โดยสอนให้เด็กจัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่ตามการเรียกชื่อสิ่งของ เช่น กองนี้เป็นช้อน กองนี้เป็นแก้วน้ำ กองนี้เป็นชาม และการจัดหมวดหมู่ตามลักษณะที่กำหนด เช่น กองนี้เป็นเครื่องแต่งกาย กองนี้เป็นผลไม้ กองนี้เป็นเครื่องใช้ กองนี้เป็นสัตว์ เป็นต้น
การรวมหมู่  โดยสอนให้เด็กนำสิ่งของมารวมกันให้เป็นกองใหญ่ขึ้น มีจำนวนมากขึ้น เช่น มีส้มอยู่ 3 ผลนำมารวมกับชมพู่ 2 ผลรวมทั้งส้มกับชมพู่แล้วมี 5 ผล เป็นต้น
การแยกหมู่ โดยสอนให้แยกของที่กองรวมกันอยู่มาแยกของที่เหมือนกันเป็นกองๆ เช่น มีของเล่น  2 ชนิดกองรวมกันไว้ แล้วให้เด็กแยกของเล่นที่เหมือนกันออกเป็น 2 กอง เป็นต้น

สรุป

     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูมักสอนเด็กตั้งแต่เล็กๆ ก่อนที่เด็กจะได้เรียนรู้วิชานี้ในโรงเรียน แต่จะเป็นลักษณะการท่องจำมากกว่าการสอนในเรื่องจำนวน  เด็กที่ได้รับการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และการอ่านมักจะเรียนได้ดีกว่าเมื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาล และพบว่าทักษะด้านคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับการทำนายความสามารถในอนาคตได้มากที่สุด  ตามด้วยทักษะด้านการอ่านและสมาธิ